หาดเจ้าสำราญ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่หลายคนต่างบอกว่า หากใครได้มาเที่ยวที่จังหวัดเพชรบุรีแล้ว ไม่ได้เดินทางมาเที่ยวที่หาดเจ้าสำราญ ถือว่าท่านมาไม่ถึงจังหวัดเพชรบุรี 


หาดเจ้าสำราญยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก ในช่วงเทศกาลวันหยุดจึงมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย นอกจากความสวยงามของหาดเจ้าสำราญแล้ว ที่นี่ยังถือว่าเป็นสถานที่พักตากอากาศชั้นยอด ที่จะทำให้วันหยุดสุดสัปดาห์ของคุณ กลายเป็นวันที่พิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่จะสวยงามขนไหนนั้น วันนี้เรามีที่พักติดทะเลริมหาดเจ้าสำราญสวยๆ มาฝากกันค่ะ

อุปกรณ์ที่พัก สำหรับการพักผ่อนเป็นหมูคณะครบครัน

หากคุณมีโอกาสได้มาเที่ยวพักผ่อนที่ริมหาดเจ้าสำราญ อย่าลืมจองที่พักติดทะเลบรรยากาศดีๆ บริการด้วยใจ อุปกรณ์สะดวกครบครัน กับบ้านแสนสุขของเรา คุณจะได้รับความรู้สึกดีๆ และความประทับใจเก็บไว้เป็นความทรงจำไปอีกนานแสนนานเลยทีเดียว



ที่พักติดทะเลที่เราจะขอแนะนำนั่นก็คือ "บ้านแสนสุข" ของเรานี่เอง ที่คุณสามารถสัมผัสกับบรรยากาศของทะเลได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเดินออกมาข้างนอก หรือเข้าไปในห้องพัก ก็สามารถสัมผัสกับกลิ่นอายของท้องทะเลได้แบบเต็มๆ ภายในห้องพัก เข้ากับบรรยากาศของท้องทะเล มองแล้วรู้สึกสบายตา สบายใจจริงๆ ห่างออกไปเพียงเล็กน้อยก็สามารถลงเล่นน้ำทะเลได้อย่างสนุกสนานแล้ว จะดีแค่ไหน หากเราได้พักที่พักติดทะเลที่คุณสามารถสัมผัสกับบรรยากาศของท้องทะเลได้แบบเต็มๆ เพียงเดินเล่นเพียงนิดเดียวเท่านั้น คุณจะได้ออกมารับลมชมวิวมองเห็นทิวทัศน์ของท้องทะเลได้อย่างเต็มตา และนอกจากนี้ยังสามารถลงเล่นน้ำไปด้วย ชมทะเลไปด้วย ช่างสวยงามตา และเพลิดเพลินใจอย่างบอกไม่ถูกเลยทีเดียว

ในส่วนของห้องพักก็กว้างขวางสะดวกสบาย มาพักได้มากถึง 8-15 คนเลย เพียงเท่านี้คุณก็สัมผัสกับท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิดแล้วค่ะ



- ทำครัวปิ้งย่าง 
- ฟรีคาราโอเกะ 
- ฟรี Wifi
- บ้านพักหันหน้าให้ทะเลเดินลงเล่นน้ำทะเลได้อย่างสะดวก
- บ้านพักมีมุมเล็กๆ ที่จัดไว้เพื่อความสวยงามหน้าบ้านพัก
- ข้างบ้านมีทางเดินสวยๆ จัดไว้รอบบ้านเพื่อความสวยงาม
- ห้องรับแขกชั้นล่างกว้างขวาง พร้อมที.วี คาราโอเกะ
- จัดส่วนรับประทานอาหารและเตรียมอาหารไว้อย่างสะดวก
- ห้องนอน 2 ห้องแอร์ (กว้างขวาง)
- มีที่นอนเสริมให้ฟรี
- มี ที.วี ทุกห้องนอน
- ห้องน้ำชั้นบนมีหนึ่งห้อง
- ลานหน้าบ้านมีบริเวณกว้างขวาง
- มีม้านั่งและเตาปิ้งย่างให้พร้อมทำอาหารได้เลย
- ทะเลที่หน้าบ้านแสนสุขลงเล่นน้ำได้


พร้อมสรรพสำหรับคุณเช่นนี้ 
ไม่มาพักบ้านแสนสุข ไม่ได้แล้วนะคะ

หากคุณต้องการเชื่อมสัมพันธภาพ และสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว  กลุ่มเพื่อน  การประชุมกลุ่ม บริษัท โรงงาน หน่วยงานราชการ การรับน้อง หรือ เที่ยวแบบหมู่คณะต่างๆ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ประมาณ 15 ท่าน  บ้านแสนสุขของเราสามารถตอบสนองความต้องการนี้ให้กับท่านได้เป็นอย่างดี เพราะเรามีที่พักพร้อมอุปกรณ์การพักผ่อนไว้คอยดูแล และพร้อมให้บริการทุกครอบครัว ทุกคณะ ทุกกลุ่ม และทุกกรุ๊ป 

เรายินดีต้อนรับผู้ที่ชื่นชอบบรรยากาศของทะเลสวยๆ น้ำทะเลใสๆ บรรยากาศที่เงียบสงบ  ในราคาสุดประหยัดบ้านแสนสุขจึงเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับการจัดเที่ยวแบบหมู่คณะ 15 ท่าน หากท่านมีการจัดทัวร์ต่างๆ เช่น จัดกรุ๊ปทัวร์ กรุ๊ปเหมา จัดทัวร์ท่องเที่ยว ดูงาน สัมมนา ของบริษัทหรือหน่วยงานราชการ ครอบครัวใหญ่ หรือกลุ่มเพื่อนสนิท เป็นต้น

ฟ้าสวย ทะเลใส โรแมนติกยามพระอาทิตย์อัสดง

หาดเจ้าสำราญ เมืองเพชรบุรี สวย ประทับใจ ไม่แพ้ใครเช่นกัน











บ้านพักหาดเจ้าสำราญติดทะเล 
บ้านแสนสุข
ยินดีต้อบรับทุกท่านค่ะ





เพชรบุรี เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมือง ฝ่ายตะวันตก มีชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่นชาววิลันดา เรียกว่า "พิพรีย์" ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า "พิพพีล์" และ "ฟิฟรี" จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ "เมืองพริบพรี" คงเป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ชื่อ "เพชรบุรี" มีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มาของชื่อมีที่มาได้ 2 ทาง ทางแรกเป็นการเรียกตามชื่อแม่น้ำเพชรบุรี ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นการเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลากลางคืนที่เขาแด่น ทำให้คนเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้น


สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ คือ ยุคสุวรรณภูมิซึ่งมีอาณาจักรฟูนาน เริ่มแต่พุทธศตวรรษที่ 6 - 12 นั้น หนังสือ “สมุดเพชรบุรี” กล่าวว่ามีความเชื่อตาม ดร.จัง บัวเซอร์ ลิเอร์ (Jean Boisselier)  ว่าอาณาจักรนี้มีอาณาเขตตั้งแต่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางและเวียดนามใต้ทั้งนี้ เพราะได้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่างแสดงว่าเป็นแหล่งและสมัยเดียวกัน และยังเชื่อว่าอาณาจักรนี้จะต้องคลุมถึงราชบุรี เพชรบุรี ตลอดไปจนถึงชุมพรโดยได้สันนิษฐานว่าเมื่อปี พ.ศ.2518 ชาวบ้านได้ขุดพบโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ลูกปัด ศิวลึงค์ ฐานตั้งศิวลึงค์ ที่เขาสามแก้ว อำเภอเมืองชุมพร โดยเฉพาะลูกปัดเป็นชนิดเดียวกัน  นอกจากนี้ได้พบลูกปัดสมัยทวารวดีอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้สันนิษฐานว่าเมืองเพชรบุรีคงอยู่ในอาณาจักร ดังกล่าว


อาณาจักรทวารวดีอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 อาณาจักรนี้มีกล่าวไว้ใน จดหมายเหตุจีนและจดหมายเหตุการเดินทางของหลวงจีน เรียกอาณาจักรนี้ว่า ตุยลอปาตี หรือ สุ้ยล้อปึ๊งตี๋ ซึ่งรวมเมืองราชบุรี เพชรบุรี คูบัว พงตึก นครปฐม กำแพงแสน ลพบุรี นครสวรรค์ ลำพูน ฯลฯ นักโบราณคดีเชื่อกันว่า ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแถบนี้เป็นชนชาติมอญ ศิลปวัฒนธรรมที่ได้พบในภาคกลางโดยเฉพาะที่เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม ส่วนใหญ่เป็นศิลปะที่มีฝีมือดีกว่าแถบอื่น (ผู้เขียนเชื่อว่าอาณาจักรนี้เลยลงไปถึงเมืองปราณบุรี และชุมพรดังหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว) สำหรับเมืองหลวงของอาณาจักรนี้ บ้างก็ว่าเป็นนครปฐม บ้างก็ว่าเป็นเมืองอู่ทอง เพราะทั้งสองแห่งได้พบโบราณสถานขนาดใหญ่


จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวไว้ว่า พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชพระบวรเชษฐพระราชกุมาร อันเป็นพระราชนัดดา ได้ลาพระเจ้าปู่พระเจ้าย่ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ เพชรบุรี โดยได้นำคนมาสามหมื่นสามพันคน ช้างพังทลายห้าร้อยเชือก ม้าเจ็ดร้อยตัว สร้างพระราชวังและบ้านเรือนอยู่หน้าพระลาน ให้คนเหล่านั้นทำนาเกลือ ครองราชย์อยู่กรุงเพชรบุรีไม่นานนัก มีสำเภาจีนลำหนึ่งถูกพายุมาเกยฝั่ง ชาวเพชรบุรีได้นำขุนล่ามจีนเข้าเฝ้า ขุนล่ามได้ถวายเครื่องราชบรรณาการแก่กษัตริย์เมืองเพชรบุรี ขุนล่ามจีนได้ขอฝาง ทางเมืองเพชรบุรีได้มอบฝางให้จนเต็มเรือ เมื่อเรือกลับถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนทรงทราบจึงโปรดพระราชทานบุตรีชื่อ พระนางจันทรเทวีศรีบาทราชบุตรีทองสมุทร ซึ่งประสูติแต่นางจันทรเมาลีศรีบาทนาถสุรวงศ์พระธิดาเจ้าเมืองจำปาได้ถวายแก่พระเจ้ากรุงจีน พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชทรงมี    พระราชบุตรหลายพระองค์ องค์หนึ่งพะนามว่าพระพนมวังมีมเหสีทรงพระนามว่าพระนางสะเดียงทอง  พระพนมทะเลโปรดให้ไปสร้างเมืองนครดอนพระ พร้อมด้วยพระเจ้าศรีราชา     พระราชทานคนเจ็ดร้อยคน แขกห้าร้อยคน ช้างสามร้อยเชือก ม้าสองร้อยตัว เมื่อไปถึงเมืองและสร้างพระธาตุ จากตำนานเรื่องนี้แสดงว่า เมืองเพชรบุรีได้เจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง พระโอรสของกษัตริย์เมืองนี้ได้ไปสร้างเมืองศิริธรรมนครหรือนครศรีธรรม- ราชและสร้างพระบรมธาตุเมืองนครด้วย


จากคำให้การของชาวกรุงเก่าได้กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทองสร้างเมืองเพชรบุรีไว้ว่า พระ-อินทราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าชาติราชาได้ครองเมืองสิงห์บุรี พระอินทราชาไม่มีโอรส จึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชอนุชาครองราชสมบัติแทน พระนามว่าพระเจ้าอู่ทอง ส่วนพระองค์ได้เสด็จไปซ่อมแปลงเมืองเพชรบุรีเป็นเมืองหลวง บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ถูกพระอนุชาและพระมเหสีคบคิดกันจะลอบปลงพระชนม์ พระองค์จึงหนีไปสร้างเมืองเพชรบุรี ต่อมาทรงได้พระราชโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระอู่ทอง ตามชื่อพระเจ้าอา พระโอรสองค์นี้ประสูติแต่พระมเหสีชื่อ มณีมาลา เมื่อพระอู่ทองมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระอินทราชาสวรรคต พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอู่ทอง มเหสีทรงพระนามว่า พระนางภูมมาวดีเทวี


ในศักราช 1196 พระเจ้าอู่ทองได้ทรงแบ่งเขตแดนกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช  เจ้าเมืองศิริธรรมนคร โดยใช้แท่นหินเป็นเครื่องหมาย ทางเหนือเป็นของพระเจ้าอู่ทอง ทางใต้เป็นของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และทั้งสองประเทศจะเป็นไมตรีเสมอญาติกัน หากพระเจ้าศรี-ธรรมโศกราชสิ้นพระชนม์เมื่อใด ก็ขอฝากนางพญาศรีธรรมโศกราช พญาจันทรภานุและพญา-พงศ์สุราหะพระอนุชาด้วยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยทางฝ่ายเพชรบุรีส่งเกลือไปให้ ทางเมืองนครศรีธรรมราชส่งหวาย แซ่ม้าเชือก เป็นต้น มาให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชฯ ให้ซ่อมแปลงพระธาตุและส่งเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นมายังพระเจ้าอู่ทอง พระองค์โปรดฯ ให้นำเครื่องไทยทานไปยังเมืองนครศรีธรรมราช


ต่อมาเมืองเพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงหาที่ตั้งเมืองใหม่ โดยทรงตกลงสร้างเมืองขึ้น ณ ตำบลหนองโสน ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงสร้างนครอินทปัตย์ เมื่อ พ.ศ.1111 เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วทรง ตั้งชื่อว่ากรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์ และทรงสถาปนาพระองค์ใหม่ว่าพระเจ้ารามาธิบดีสุริยประทุมสุริยวงศ์





จากบันทึกของลาลูแบร์ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยบุรี พ.ศ.1300 สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่าพญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ.1731 กษัตริย์องค์ที่ 12 สืบต่อมาจากพญาสุนทรฯ ทรงพระนามว่าพระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา 4 ชั่วกษัตริย์จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ.1894 จากบันทึกนี้กับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่เพี้ยนนามเท่านั้น คือ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกับพระพนมไชยศิริ ส่วนองค์ที่สร้างกรุงศรี-อยุธยานั้นพระนามตรงกัน


อย่างไรก็ตาม เรื่องพระพนมไชยศิรินี้ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นเจ้าเมืองเวียง-ไชยปราการได้หนีข้าศึกมาจากเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) เมื่อ พ.ศ.1547 ในตอนแรกจะอพยพครอบครัวไปทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกก แต่ในขณะนั้นในแม่น้ำมีมาก จึงล่องใต้มายังตำบลหนึ่งแล้ว จึงสร้างเมืองขึ้นให้ชื่อว่า กำแพงเพชร และที่เมืองสุโขทัยยังมีเมืองๆ หนึ่งชื่อ เมืองเพชรบุรี อยู่ที่อำเภอคีรีมาศริมฝั่งคลองสาระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง


เรื่องเมืองเพชรบุรี หรืออาณาจักรเพชรบุรี เคยมีกษัตริย์ปกครองนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ข้อคิดเห็นว่า เดิมเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้ว เมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ อำนาจของเมืองทั้งสองจึงตกแก่กรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะรวบรวมพระนามกษัตริย์อาณาจักรเพชรบุรีที่ปรากฏมี 6 พระนามคือ 
1. พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช
2. พระพนมไชยศิริ
3. พระกฤติสาร
4. พระอินทราชา
5. พระเจ้าอู่ทอง
6. เจ้าสาม


เมืองเพชรบุรีในสมัยสุโขทัยนั้น เข้าใจว่าเป็นอาณาจักรเล็กๆ อาณาจักรหนึ่งขึ้นตรงต่ออาณาจักรสุโขทัย จากบันทึกของจีนสมัยพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ พ.ศ.1837 กล่าวว่า   “กัมจูยือตัง (กันจูเออตัน กมรเตง) แห่งเมืองปิกชิกฮั้นปูลีเฮียะ (ปีฉีปุลีเยะเพชรบุรี) ส่งทูตมาถวายเครื่องบรรณาการ” แต่จดหมายเหตุบางฉบับเขียนเป็น ปิกชิกปูลี หรือ ปิชะปูลี ซึ่งกล่าวถึงเมืองเพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่า “ พระโองการชี้ชวนให้กันจูยือตัง (กันจูเออตัน, กมรเตง) เจ้าประเทศสยามมาเฝ้า มีกิจก็ให้ลูกน้องชายกับอำมาตย์มาเป็นตัวจำนำ” และใน พ.ศ.1934 สมัยรัชกาลพระเจ้าฮ่งบู้ ประเทศริวกิวสยาม เปียกสิกโปบลี้ (เปะชีปาหลี่) กัศมิระ เข้าถวายบรรณาการ ข้อความนี้นายเลียง เสถียรสุต ผู้แปลโดยอธิบายว่า เมืองเปียกกสิกโปบลี้หรือเปะซีปากลี่ นั้นหมายถึงแคว้นโคถานในมงโกล แต่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นเมืองเพชรบุรีมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคำอื่นที่จีนได้บันทึกไว้ดังคำแรก ๆ ที่กล่าวไว้ข้างบนใน พ.ศ.ดังกล่าวจะตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งครองราชย์ถึง พ.ศ.1942


ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้จารึกเรื่องราวในสมัยนั้นไว้ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงพระราชอาณาเขตไว้ว่า “เบื้องตะวันออกรอดสระหลวงสองแควลุมบาจายสคาเท้าฝั่งโขงถึงเวียงจันเวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนทีพระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราชฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว” 


การปกครองหัวเมืองในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้จัดแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายตะวันออก หัวเมืองฝ่ายตะวันตก หัวเมืองฝ่ายเหนือ และหัวเมืองปักษ์ใต้ สำหรับเมืองเพชรบุรีนั้นสังกัด  หัวเมืองฝ่ายตะวันตกซึ่งมีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ เมืองเพชรบุรี ราชบุรี นครไชยศรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ศรีสวัสดิ์ ไทรโยคท่ากระดาน ทองท่าพี และเมืองทองผาภูมิ


ในสมัยนี้อาจถือได้ว่า เมืองเพชรบุรีเป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่ง เพราะเป็นเมืองที่ข้าศึกต้องยกทัพผ่านเข้ามา เพื่อจะไปตีกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองท่าที่เรือสินค้าต่าง ๆ จอดแวะพักก่อนที่จะเข้าไปยังเมืองหลวง หรือจะล่องไปยังหัวเมืองปักษ์ใต้ หรือจะเดินทางไปเมืองมะริด    เมาะลำเลิง หัวเมืองมอญ ดังนั้นเจ้าเมืองนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถหลายด้าน คือทั้งด้านการรบ การปกครอง รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์กับเมืองอื่น ในส่วนการทำมาหากินนั้น เมืองนี้ก็อุดมสมบูรณ์ทั้งข้าวปลาอาหาร ยามใดที่บ้านเมืองเปลี่ยนแผ่นดิน หรือมีข้าศึกมาติดพันหลายด้าน เมืองเพชรบุรีต้องเตรียมตัวที่จะต่อสู้กับศัตรูโดยตรงรวมทั้งศัตรูที่ลอบเข้ามาปล้นบ้านเมืองซ้ำเติมอีกด้วย






ใน พ.ศ.2100 แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียว พระยาละแวกก็ยกทัพมาตี กรุงศรีอยุธยา มีกำลังพลเพียงสามหมื่น ขณะนั้นปืนใหญ่น้อยรอบพระนครถูกพระเจ้าหงสาวดีเอาไปเกือบหมดสิ้น เมื่อได้ปรึกษากับเสนาบดีทั้งหลายแล้ว บางท่านว่าควรอพยพไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลกชั่วคราว โดยให้รีบแต่งกองเรือพระที่นั่ง การครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าเมืองเพชรบุรี คือ พระเพชรรัตน์เจ้าเมืองเพชรบุรีในขณะนั้นมีความผิดด้วยสถานใดไม่ทราบได้ ถูกปลดออกจากเจ้าเมืองตนจึงคิดขบถโดยเตรียมสะสมผู้คนไว้เพื่อปล้นทัพหลวงที่จะแยกไปยังเมืองพิษณุโลกแต่พระองค์มิได้เสด็จทั้งนี้เพราะขุนเทพวรชุนได้กราบทูลให้ ต่อสู้กับเขมรเพราะเห็นว่าการทัพครั้งนี้ไม่ใหญ่โต พระองค์จึงเตรียมรับศึกเขมร การรบคราวนี้เขมรไม่สามารถตีเอากรุงศรีอยุธยาได้ จึงยกทัพกลับไป


ในสมัยเดียวกันนี้เมื่อ พ.ศ.2113 พระยาละแวกได้ให้พระยาจีนจันตุกับพระยาอุเพศราช ยกทัพเรือมาตีเมืองเพชรบุรีด้วยกำลังพลสามหมื่น พระศรีสุรินทรฤาไชยเจ้าเมืองเพชรบุรี พร้อมด้วยกรมการเมืองได้รักษาเมืองไว้เต็มความสามารถรบพุ่งต่อสู้กันถึงสามวัน ข้าศึกเสียรี้พลและอาวุธเป็นจำนวนมาก เมื่อพระยาทั้งสองเห็นว่าจะตีเมืองเพชรบุรีไม่ได้แน่แล้ว จึงยกทัพกลับ แต่พระยาจีนจันตุมิได้กลับเมืองเขมร ด้วยเกรงพระยาละแวกจะเอาโทษในฐานที่ตีเอาเมืองเพชรบุรีไม่ได้ จึงอพยพครอบครัวเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาธิราชทรงอุปถัมภ์เป็นอย่างดี แต่มินานพระยาจีนจันตุได้ลอบหนีไปโดยสำเภา


ครั้นถึง พ.ศ.2115 ในเดือนสาม พระยาละแวกได้ยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรีอีก คราวนี้มาด้วยตนเอง มีพลประมาณเจ็ดหมื่นคน ทางกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดฯ ให้เมืองยโสธรราชธานีกับเมืองเทพราชธานี ยกทัพออกไปช่วยออกพระศรีสุรินทรฤาไชย เจ้าเมืองเพชรบุรี ต่างก็ได้ช่วยกันตกแต่งกำแพง คู หอรบให้แข็งแรง เมื่อพระยาละแวกยกทัพมาล้อมเมืองเพชรบุรีได้สามวันจึงให้ทหารเอาบันไดปีนกำแพงเมือง แต่ชาวเพชรบุรีได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ ข้าศึกไม่สามารถจะตีเอาเมืองได้จึงถอยออกไป และคิดว่าหากเข้าตีไม่ได้ก็จะยกทัพกลับ แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ภายในค่ายเมืองเพชรบุรี เริ่มแตกความสามัคคีกันระหว่างพระยาทั้งสาม คือมิได้ร่วมมือกันวางแผนปราบปรามข้าศึก ต่างก็บังคับบัญชาทหารฝ่ายของตน มิได้สัมพันธ์ร่วมมือรบ หรือปรึกษากัน ครั้นถึงวันแปดค่ำพระยาละแวกได้ยกเข้าตีทางด้านตำบลคลองกระแชง และทางด้านตำบลบางจานยกเข้าเผาหอรบทลายลงพร้อมกับปีนกำแพงเข้าเมืองได้ ออกพระศรีสุรินทรฤาไชย เมืองยโสธรราชธานี เมืองเทพราชธานีตายในที่รบ พระยาละแวกได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากไปยังเขมรเมืองเพชรบุรีต้องแตกยับเยินครั้งนี้เพราะผู้นำแตกความสามัคคีกัน อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นมินานบ้านเมืองก็คงสภาพปกติ


สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเตรียมกองทัพที่จะยกไปตีเมืองเขมร โดยเกณฑ์พลจากเมืองนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองปักษ์ใต้เกณฑ์กองเรืองรบ จำนวน 250 ลำ จากเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ไชยา คนสองหมื่น มอบให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพกองเรือนี้เพื่อจะยกไปตีเมืองป่าสักของเขมรซึ่งมีพระยาวงศาธิราชเป็นแม่ทัพ กองทัพเขมรแตกย่อยยับ พลทหารจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก พระยาวงศาธิราชตายในที่รบ ทัพไทยตีได้เมือง    ป่าสักพระยาเพชรบุรียกทัพรุดไปยังเมืองปากกระสัง ซึ่งขณะนั้นทัพของพระยาราชวังสันกำลังรบกับเขมรอยู่ พระยาเพชรบุรีจึงยกตีขนาบเข้าไปทัพเขมรแตก กองทัพพระยาราชวังสันกับพระยาเพชรบุรียกเข้าตีเมืองจัตุรมุขแตก แล้วยกไปสมทบกับทัพหลวงที่เมืองละแวกยกเข้าตีเมืองละแวกแตก จับพระยาละแวกทำพิธปฐมกรรม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงยกทัพกลับ


ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงยกทัพไปตีพม่านั้น พระยาเพชรบุรีก็เป็นนายทัพด้วย เมื่อกองทัพบกไปถึงแม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดฯ ให้พระมหาเทพเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพม้า ยกออกนำหน้าทัพหลวง ส่วน     พระยาเพชรบุรียกทัพช้างม้าและพลรบจำนวนสามพันเป็นทัพหนุนพระมหาเทพ


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์เคยเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในปีเถาะ พ.ศ.2134 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปยังตำบลสามร้อยยอดทางสถลมาร์คและประทับแรมที่นั้นเป็นเวลา 14 วัน เพื่อทรงเบ็ด หลังจากนั้นได้เสด็จมาประทับแรม ณ ตำหนักตำบลโตนดหลวงเป็นเวลา 12 วัน จึงเสด็จเข้ายังเมืองเพชรบุรี


สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทนพระเจ้าทรงธรรม เมื่อ พ.ศ.2170 พระองค์มีอนุชาสององค์คือ สมเด็จพระพันปีศรีศิลป์กับสมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ สมเด็จพระพันปีศรีศิลป์ทรงพิโรธหาว่าเสนาบดีทั้งหลายมิได้ยกราชสมบัติให้พระองค์ พระองค์จึงทรงพาข้าราชบริพารลอบหนีมายังเมืองเพชรบุรี เพื่อซ่องสุมผู้คนจะยกเข้ากรุง สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงทราบเหตุจึงโปรดฯ ให้ไปจับกุมตัวมาสำเร็จโทษเสียที่วัดโคกพระยา ส่วนชาวเมืองเพชรบุรีที่เข้าด้วยกับสมเด็จพระพันปีศรีศิลป์นั้นให้เอาตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง






ประมาณ พ.ศ.2203   ทางเมืองพม่าพวกฮ่อได้ยกเข้ามาล้อมเมืองอังวะ พระเจ้า อังวะเกณฑ์หัวเมืองมอญให้ไปช่วยป้องกันเมือง มอญไม่เต็มใจจึงยกเข้ามาพึ่งไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้ไปอยู่ ณ ตำบลสามโคก เมื่อพวกฮ่อยกทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าอังวะจึงให้เจ้าเมืองหงสาวดีเจ้าเมืองตองอู ยกไปเอาครัวมอญที่หนีมาเมืองไทยกลับไปให้ได้ เจ้าเมืองทั้งสองจึงยกทัพเข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ทางกรุงศรีอยุธยาจึงสั่งให้พระยาจักรีเกณฑ์กองทัพหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายทะเลตะวันตกให้เจ้าพระยาโกษาเหล็กเป็นแม่ทัพหลวง พระยาเพชรบุรีเป็นทัพหน้า พระยาราชบุรีเป็นกองหนุนยกไปยังตำบลปากแพรกเข้าตีทัพพม่าแตกพ่ายไป


สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถือได้ว่าเป็นสมัยที่มีการติดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศมากที่สุดและได้ผลเป็นที่น่าชื่นชม โดยเฉพาะสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่งราชทูตชื่อเชวาติ เอ เดอ โชมอง มายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อราชทูตมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เจ้าเมืองบางกอกกับเจ้าเมืองเพชรบุรีออกไปต้อนรับ   โดยเจ้าเมืองเพชรบุรีได้นำขุนนางข้าราชการพร้อมด้วยเรือยาวประมาณ 40 ลำ มาคอยรับอยู่ก่อนแล้วหนึ่งวัน เจ้าเมืองทั้งสองได้เข้าไปแสดงความชื่นชมยินดีกับราชทูตหลังจากนั้นจึงจัดขบวนเรือเพื่อเดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงเมืองบางกอก เรือสินค้าของอังกฤษได้ยิงสลุดพร้อม ๆ กับการยิงสลุตจากตัวเมืองบางกอก ครั้นถึงเมืองบางกอกเจ้าเมืองเพชรบุรีกับเจ้าเมืองบางกอกตั้งแถวต้อนรับ โดยท่านทั้งสองยืนคอยรับอยู่หัวแถว เพื่อนำราชทูตไปยังที่พักในเมืองบางกอกหลังจากนั้นจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา


ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาวจังหวัดเพชรบุรีอีกเรื่องหนึ่งคือ ประมาณเดือนอ้ายเดือนยี่มีพระราชพิธีตรียัมพวาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงม้าพระที่นั่งเพื่อเสด็จไปยังตำบลชีกุนอันเป็นที่ตั้งเทวสถานเพื่อประกอบพิธีดังกล่าว สมเด็จเจ้ารามกับสมเด็จเจ้าฟ้าทองได้แต่งชาวเพชรบุรี 300 คนถือกระบองซุ่มอยู่ข้างทาง   ครั้นเสด็จไปถึงทางสี่แยกบริเวณป่าเขาชมพู่กับตะแลงกุนป่ายา ชาวเพชรบุรีตรงเข้ายึดเอาบังเหียนม้าพระที่นั่ง กรมพระตำรวจจับตัวมาสอบถาม ชาวเพชรบุรีให้การว่า สมเด็จเจ้าฟ้ารามกับสมเด็จเจ้าฟ้าทองใช้ให้มาทำร้ายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จกลับสู่พระราชวัง ได้ตรัสสอบถามเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ ซึ่งก็ทรงรับว่าเป็นความจริง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดฯ ให้ลูกขุน ณ ศาลาพิจารณาโทษ   ทั้งสองพระองค์เคยได้รับพระราชทานอภัยโทษมาครั้งหนึ่งแล้วยังคิดกบฏอีก คณะลูกขุนจึงพิจารณาตัดสินสำเร็จโทษเสีย อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้พงศาวดารบางเล่มมิได้ระบุว่าเป็นชาวเพชรบุรีเพียงแต่กล่าวไว้ว่า พระไตรภูวนารถทิพยวงศ์ (สมเด็จเจ้าฟ้าราม) กับสมเด็จเจ้าฟ้าทองได้ซ่องสุมผู้คนและเตรียมการไว้เท่านั้น


ทางเมืองไชยาแจ้งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาว่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ซ่องสุมผู้คนไว้เพื่อแข็งเมือง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดฯ ให้พระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพหลวง พระสุนเสนาเป็นยกกระบัตร พระยาเพชรบุรีเป็นเกียกกาย (กองเสบียงของทหาร) พระยาสีหราชเดโชเป็นกองหน้า พระยาราชบุรีเป็นทัพหลวงยกไปทางบกส่วนทัพเรือมีพระยาราชวังสันเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชราว พ.ศ.2229


ในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พ.ศ.2246 พระองค์โปรดการทรงเบ็ด จึงได้เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี ประทับแรมที่ตำบลโตนดหลวงซึ่งเป็นที่เคยประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพุทธเจ้าเสือเสด็จเลยไปจนถึงตำบลสามร้อยยอด ทรงเบ็ด แล้วเสด็จย้อนกลับมายังตำหนักโตนดหลวง จึงเสด็จกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา


ใน พ.ศ.2302 สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือ กรมขุนอนุรักษมนตรีเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อซึ่งสละราชสมบัติ ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งอยู่ข้างฝ่ายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ได้ทูลลาผนวก เจ้าพระยาอภัยราชา พระยาเพชรบุรี หมื่นทิพเสนา นายจุ้ย นายเพงจัน ได้ร่วมคิดกับกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นกบฏ สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงทราบจึงให้จับตัวบุคคลดังกล่าว กรมหมื่นเทพพิพิธถูกเนรเทศไปเมืองลังกา ส่วนพระยาอภัยราชา พระยาเพชรบุรี นายจุ้ย ให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนแล้วจำไว้ ส่วนนายเพงจันหมื่นทิพเสนาหนีไป เมื่อพม่ายกทัพมาในฤดูแล้งปีเดียวกันนี้ โปรดฯให้แก้จำเจ้าพระยาอภัยราชา พระยาเพชรบุรี พระยายมราชออกมารบ ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพ พระยาเพชรบุรีเป็นทัพหน้า พระยาราชบุรีเป็นยกกระบัตร พระสมุทรสงครามเป็นเกียกกาย พระธนบุรีและพระนนทบุรีเป็นกองหลัง ยกไปรักษาเมืองมะริด แต่พอยกไปถึงด่านสิงขรก็ทราบว่า เมืองดังกล่าวถูกข้าศึกยึดได้เสียแล้ว ทัพพม่ายกตีเข้ามาถึงทัพพระยายมราชแตกกระจาย ไล่มาตั้งแต่เมืองกุยบุรี ปราณบุรี จนเข้ามาถึงเมืองเพชรบุรี โดยไม่มีผู้คิดสู้ป้องกันเมืองเลย


ใน พ.ศ.2307 กองทัพพม่าซึ่งมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองทวาย ตีจะเรื่อยมายังเมืองมะริด ตะนาวศรี มะลิวัน ระนอง ชุมพร ไชยา ปทิว คลองวาฬ กุย ปราณ จนถึงเมืองเพชรบุรี แต่ที่เมืองเพชรบุรีมีกองทัพพระยาพิพัฒโกษากับทัพของพระยาตาก ยกมาจากกรุงศรีอยุธยา ทันรักษาเมืองไว้ได้ เมื่อพม่ายกมาถึงเมืองเพชรบุรีปะทะกับกองทัพไทยเข้าก็ถอยไปทางด่านสิงขรอย่างไรก็ตามในปีเดียวกันนี้ พระเจ้าอังวะได้มีพระราชสาส์นมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อขอตัวเจ้าเมืองทวายกลับไป หากไทยขัดขืนจะยกทัพใหญ่มา ทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยามิได้มอบให้ไป และได้เตรียมกำลังไว้ป้องกันบ้านเมืองโดยเกณฑ์ทหารไปรักษาด่านอย่างมั่นคง พม่ายกทัพมาคราวนี้เป็นทัพของกษัตริย์องค์ใหม่ คือ หลังจากพระเจ้าอังวะสวรรคตประมาณ พ.ศ.2308 กองทัพได้ยกเข้ามาทางเมืองทวาย ตะนาวศรี แล้วยกเข้าตีเมืองเพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี สมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตั้งรับที่เพชรบุรี ราชบุรี แต่สู้กำลังข้าศึกไม่ได้จึงเสียเมืองแก่พม่า หลังจากนั้นพม่าจึงยกเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะที่พม่าล้อมกรุงอยู่นั้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดฯ ให้พระยาเพชรบุรีคุมกองทัพเรือกองหนึ่ง พระยาตากสินคุมอีกกองหนึ่ง ยกออกไปตั้งรับทัพพม่าที่จะเข้ามาทางท้องทุ่ง ครั้นพม่ายกเข้ามา พระยาเพชรบุรีจะยกออกไปสู้รบพม่า พระยาตากสินเห็นว่าข้าศึกมีกำลังเหนือกว่า ไม่ควรยกออกไปจึงห้ามไว้ พระยาเพชรบุรีเห็นว่าพอจะสู้ได้จึงยกออกไปถูกพม่าล้อมไว้แล้วเอาดินปืนทิ้งลงในเรือดินระเบิดขึ้น พระยาเพชรบุรีตายในที่รบ ส่วนพระยาตากสินมิได้ต่อสู้กับข้าศึกแต่ได้ถอยมาตั้งรับที่วัดพิชัย และมิได้เข้าไปในกรุงศรีอยุธยาอีกเลย หลังจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ.2310 


หลังจากกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายยับเยินแล้ว ผู้นำที่มีความสามารถต่างก็ตั้งตัวเป็นหัวหน้าเป็นอิสระเป็นก๊ก ก๊กต่าง ๆ เหล่านี้มีพระยาตากสินด้วยก๊กหนึ่ง ซึ่งต่อมาตั้งตัวเป็นเจ้าทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ทรงปราบก๊กต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แล้วตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวงและมีเมืองรอบเมืองหลวงพอที่จะตั้งเจ้าเมืองออกไปได้และมีกำลังพอที่จะรวบรวมผู้คนจัดบ้านเมืองเสียใหม่เมืองเหล่านี้ประมาณ 11 เมืองรวมทั้งเมืองเพชรบุรีด้วย ใน พ.ศ.2312  โปรดฯ ให้เจ้าพระยาจักรี พระยายมราช พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระยาเพชรบุรี เป็นกองหน้ายกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชกองทัพคราวนี้กำลังพลห้าพัน โดยยกไปทางบกถึงเมืองไชยาและท่าข้ามได้ต่อสู้กัน การรบคราวนี้พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ตายในที่รบ ทั้งนี้เพราะนายทัพนายกองมิได้สามัคคีกัน เมื่อถึงท่าหมากกองทัพของพระยาทั้งสองจึงเสียทีข้าศึก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพหลวงไปทางเรือ เมื่อกองเรือมาถึงตำบลบางทะลุ หาดเจ้าสำราญ ถูกพายุเรือล่มเป็นจำนวนหลายลำ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงตั้งพิธีบวงสรวงและพักที่เพชรบุรีระยะหนึ่ง





ครั้งถึง พ.ศ.2317 ทางพม่าได้ยกทัพเข้ามาอีก โดยเข้ามาทางปากแพรก ตั้งค่ายอยู่ ณ ตำบลบางแก้ว โปรดฯ ให้พระเจ้าจุ้ยลูกเธอและพระยาธิเบศรบดีเป็นแม่ทัพ ยกออกไปตั้งรับทัพข้าศึก ณ เมืองราชบุรี เมื่อยกไปถึงปรากฏว่าทัพหน้าซึ่งมีพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาเพชรบุรี หลวงสมบัติบาลและหลวงสำแดงฤทธาแตกทัพมา เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ โปรดฯ ให้จับบุตรภรรยาของนายทัพนายกองแตกทัพมานั้นจำไว้ แล้วให้ยกออกไปรบแก้ตัวใหม่ การศึกครั้งนี้ที่จริงแล้วอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพมิได้มุ่งหวังที่จะให้ยกทัพมาตีเมืองไทยแต่ประการใด เพียงแต่ให้ยุงอคงหวุ่นติดตามครอบครัวมอญที่หนีเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ยุงอคงหวุ่นเลยถือโอกาสปล้นครัวไทย โดยแบ่งกำลังออกเป็นสองกอง ตั้งค่ายอยู่ที่ปากแพรกกองหนึ่ง คอยปล้นผู้คนแถวเมืองกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครไชยศรี อีกกองหนึ่งได้ยกไปปล้นเมืองราชบุรี สมุทรสงครามและเมืองเพชรบุรี ครั้นยกมาถึงตำบลบางแก้วก็ทราบว่ามีกองทัพไทยยกไปตั้งรับที่ราชบุรี ยุงอคงหวุ่นจึงได้ตั้งทัพที่ตำบลบางแก้วสามค่าย ทางกองทัพไทยได้ตั้งล้อมกองทหารพม่า เพื่อตัดเสบียงอาหาร พม่ายกออกปล้นค่ายพระยาพิพัฒน์โกษา และค่ายพระยาเพชรบุรีแต่ไม่สามารถตีหักเอาได้ ขณะนั้นได้มีใบบอกเข้ามายังกรุงว่า กองทหารพม่าที่ยกเข้ามาทางเมืองมะริได้เข้าปล้นค่ายเมืองทับสะแก เมืองกำเนิดนพคุณ จึงโปรดฯ ให้แจ้งแก่เจ้าเมืองกุยบุรี เมืองปราณบุรี ให้ทำลายหนองน้ำบ่อน้ำตามรายทางที่คิดว่ากองทัพพม่าจะยกมายังเมืองเพชรบุรีให้หมดสิ้นโดยให้เอาของสกปรกหรือยาพิษใส่ลงไป อย่าปล่อยให้เป็นกำลังแก่ฝ่ายข้าศึกได้โปรดให้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาอยู่ฟู่รักษาเมืองเพชรบุรีด้วย 


หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกและสร้างกรุงเทพมหานครไม่กี่ปีพม่าก็เตรียมทัพใหญ่ที่จะยกมา คือในปีมะเส็ง พ.ศ.2328 พระเจ้าปดุงได้เกณฑ์รี้พลประมาณแสนเศษ โดยจัดเป็นเก้าทัพ ทัพที่ 1 ให้แมงยี แมงข่องกยอ เป็นแม่ทัพยกไปตีหัวเมืองฝ่ายตะวันตกถึงเมืองถลาง ทัพที่ 2 ให้ออกนอกแฝกคิดหวุ่นเป็นแม่ทัพยกมาตั้งที่เมืองทวาย เดินทางเข้ามาทางด่านบ้องตี้ เข้าตีเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรีลงไปถึงเมืองชุมพร จรดทัพที่หนึ่ง ทัพที่ 3 ให้หวุ่นคยีสะโดะศิรีมหาอุจะนาเข้ามาทางเมืองเชียงแสน สุโขทัย แล้วยกลงมายังกรุงเทพมหานคร ทัพที่ 4 มีเมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่องเป็นแม่ทัพ ยกมาทางเมืองเมาะตะมะเป็นทัพหน้ายกเข้าตีกรุงเทพมหานคร เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทัพที่ 5 ให้เมียนเมหวุ่นเป็นแม่ทัพหน้ายกมาตั้งที่เมืองเมาะตะมะเป็นทัพหนุนทัพที่สี่   ทัพที่ 6 ให้ตะแคงกามะราชบุตรที่สองเป็นแม่ทัพ เป็นทัพหน้าที่ 1 ของทัพหลวงยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทัพที่ 7 ให้ตะแคงจักกุราชบุตรที่สามเป็นแม่ทัพ เป็นทัพหน้าที่ 2 ของทัพหลวง   ทัพที่ 8 เป็นทัพหลวงมีพระเจ้าปดุงเป็นนายทัพยกมาทางเมืองเมาะตะมะ ทัพสุดท้ายมีจอข่องนรธาเป็นแม่ทัพ ยกมาทางด่านแม่ละเมายกเข้ามาตีเมืองตาก กำแพงเพชร แล้วยกมายังกรุงเทพมหานคร


ทางฝ่ายกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ให้จัดทัพไว้รับ 4 ทัพด้วยกันคือ ทัพที่ 1 ให้กรมพระราชวังหลังเป็นแม่ทัพยกไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์ ทัพที่ 2 เป็นทัพใหญ่ให้กรมพระราชวังบวรฯ ยกไปยังเมืองกาญจนบุรี คอยต่อสู้กับข้าศึกที่จะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทัพที่ 3 ให้เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) กับเจ้าพระยายมราช ยกไปตั้งรับที่เมืองราชบุรีคอยคุ้มกันทัพที่ 2 และคอยต่อสู้กับข้าศึกที่จะยกมาทางปักษ์ใต้และเมืองทวาย ทัพสุดท้ายเป็นทัพหลวงตั้งที่กรุงเทพฯ เป็นกองหนุน การรบคราวนี้โดยเฉพาะการรบที่ลาดหญ้า มีเรื่องที่กล่าวถึงพระยาเพชรบุรี คือ กองทัพทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันและไม่สามารถจะตีหักกันได้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ จึงทรงจัดตั้งเป็นกองโจร โดยให้พระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน้ำ และพระยาเพชรบุรีคุมทหารไปคอยซุ่มโจมตีหน่วยลำเลียงเสบียงอาหารที่จะส่งไปยังค่ายข้าศึก แต่นายทัพทั้งสามดังกล่าวมิได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจึงดำรัสสั่งให้ประหารชีวิตเสียทั้งสามคน แล้วโปรดฯ ให้พระองค์เจ้าขุนเณรไปแทนอย่างไรก็ดี การสงครามคราวนี้พม่าเสียหายยับเยินกลับไป


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ให้เตรียมทัพเพื่อไปตีพม่าใน พ.ศ. 2336 โดยยกไปตั้งทัพที่เมืองทวาย ซึ่งขณะนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และเมืองมะริดเป็นของไทย กองทัพที่ยกไปตั้งยังเมืองดังกล่าวมีทัพของเจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยารัตนาพิพิธ พระยาสีหราชเดโช พระยากาญจนบุรี พระยาเพชรบุรี เจ้าพระยามหาโยธา พระยาทวายและกองทัพของพระยายมราช นอกจากนี้ยังมีกองทัพเรืออีกด้วย ครั้นถึงฤดูแล้ว ทัพหลวงได้ยกออกไปทางเมืองไทรโยคทางฝ่ายพม่ายกทัพใหญ่มาล้อมเมืองทวายไว้ การรบคราวนี้พระยากาญจนบุรีตายในที่รบ กองทัพพม่ายกเข้าตีค่ายพระยามหาโยธาแตก แล้วยกเข้าตีค่ายพระยาเพชรบุรี แต่ไม่สามารถจะตีหักเอาได้จึงลงเรือถอยกลับไป ต่อมาอีกสามวันพม่าเกณฑ์ทหารอาสาเข้าตีค่ายพระยาเพชรบุรีอีก คราวนี้เสียทีแก่ข้าศึกอย่างไรก็ตามกองทัพไทยเข้าตีเอากลับคืนมาได้ในที่สุด


ถึงสมัยรัชกาลที่ 2 พม่าได้ยกกองทัพมาอีก คราวนี้ยกไปตีหัวเมืองปักษ์ใต้ถึงเมืองถลาง รัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้พระยาจ่าแสนยากร (บัว) คุมกองทัพล่วงหน้าลงไปก่อน ให้พระยาพลเทพลงมารักษาเมืองเพชรบุรีไว้ และโปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิทักษ์มนตรีเสด็จไปคอยจัดการสั่งกองทัพอยู่ ณ เมืองเพชรบุรี กองทัพที่มาตั้ง ณ เมืองเพชรบุรีนี้ จากการรายงานของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีว่าทหารมีความประพฤติไม่ดี คือ ได้กักเรือบรรทุกข้าว น้ำตาลของชาวบ้านเก็บค่าผ่านทาง แม้แต่สินค้าพวกไม้ไผ่ เขาวัว ก็ไม่เว้น การกระทำดังกล่าวเป็นที่น่าอับอายขายหน้าแก่ชาวเมืองเพชรบุรียิ่งนัก สู้กองทัพที่ตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรีไม่ได้ ทหารที่เมืองเพชรบุรีต่างคนต่างทำต่างคนต่างคิดมิได้สามัคคีกัน ทางฝ่ายพม่าได้เขียนหนังสือมาแขวนไว้ที่แดนเมืองตะนาวศรี เพื่อให้ไทยเลิกจับกุมพลลาดตระเวนของตน ไทยได้มีหนังสือตอบไปโดยนำไปแขวนไว้ที่ชายแดนเช่นกัน โดยให้พระยาพลสงครามแห่งเมืองเพชรบุรีเป็นผู้ตอบ


การสงครามระหว่างไทยกับพม่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่ทางปักษ์ใต้ยังไม่สงบ ต้องปราบปรามหัวเมืองมลายู โดยเฉพาะเจ้าเมืองไทรบุรีและเจ้าเมืองใกล้เคียงที่พากันกระด้างกระเดื่อง ทั้งนี้เพราะมีต่างชาติคอยยุยงอยู่เบื้องหลัง เมื่อ พ.ศ. 2382 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าเมืองไทรบุรีแข็งเมืองอีกทั้งๆ ที่เมืองนี้เคยถูกปราบมาแล้ว ซึ่งพระยาเพชรบุรีเคยยกทัพไปปราบ


คราวนี้รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพ ยกไปประมาณสามพันคน รวมทั้งชาวเพชรบุรีด้วยเก้าร้อยคน ทั้งนี้ต้องไปรวมทัพกับเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองสงขลา รวมรี้พลประมาณหมื่นเศษ กองทัพนี้เป็นกองทัพเรือ โดยเกณฑ์เรือจากเมืองเพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร เขมร เป็นต้น โดยเฉพาะกองทัพของพระยาเพชรบุรีที่ยกออกไปจากเมืองเพชรบุรีนั้น จากรายงานของหลวงเมืองปลัดเมืองเพชรบุรีว่า เรือทั้งหมด 9 ลำ ทหาร 599 คน อาวุธปืนประจำเรือ คือ ปืนหน้าเรือ ท้ายเรือ แคมเรือและปืนหลังรวม 48 กระบอก ปืนคาบศิลา 270 กระบอก ดินปืน 10 หาบ เมื่อยกทัพไปถึง หัวเมืองปักษ์ใต้ โปรดฯ ให้พระยาเพชรบุรีประจำอยู่ ณ เมืองสายบุรี เพื่อจะได้ดูแลหัวเมืองมลายู ทางเจ้าเมืองแข็งเมืองโดยตั้งค่ายสู้รบ แต่เมื่อทราบว่ากองทัพของพระยาเพชรบุรียกไปตั้งที่เมืองสายบุรีเจ้าเมืองกลันตันให้คนมาแจ้งแก่พระยาเพชรบุรีว่า ตนจะรื้อค่ายลงเพราะเกรงว่าประชาชนจะพากันหลบหนีไปหมด อย่างไรก็ตาม พระยากลันตันหาได้กระทำดังกล่าวไว้ไม่ แต่ได้มีหนังสือมาถึงพระยาเพชรบุรีขออ่อนน้อมต่อไทย พระยาเพชรบุรีจึงตอบตกลงไปให้พระยากลันตัน พระยากลันตันได้มอบทองคำให้พระยาเพชรบุรี ค่ายดังกล่าวนี้ต่อมาพระยาไชยาได้รื้อเผาไฟจนหมดสิ้น





สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเมืองเพชรมาก จะเห็นได้จากการที่พระองค์ได้เสด็จมาเมืองเพชรหลายครั้งในระหว่างผนวช พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำเขาย้อย อำเภอเขาย้อย และยังได้ประทับแรมที่วัดมหาสมณารามเชิงพระนครคีรีอีกด้วย จากจดหมายเหตุของหมอบรัดเล่ย์ ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงที่ได้เสด็จมายังเมืองเพชรบุรีว่า  


วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403   ได้เสด็จเมืองเพชรบุรีเป็นครั้งที่สองในปีนี้ เพื่อทอดพระเนตรการก่อสร้างพระนครคีรี วันที่ 22 มิถุนายน ได้แห่พระมายังเมืองเพชรบุรี วันที่ 28 มิถุนายน เสด็จมาเมืองเพชรเป็นครั้งที่สาม วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2403 หลังจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 56 พรรษาแล้ว เสด็จมาเมืองเพชรโดยเรือพระที่นั่งจากพระราชหัตถเลขาทรงมีไปถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 23 ตุลาคมว่า พระองค์เสด็จถึงปากน้ำตำบลบ้านแหลมเวลา 3 โมงเช้าถึงพระนครคีรีเวลาบ่าย 2 โมง ทรงทอดพระกฐิน ณ วัดพระพุทธไสยาสน์และวัดมหาสมณาราม ส่วนพระราชธิดาในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า-อยู่หัวนั้นได้เสด็จไปทอดพระกฐิน ณ วัดเขาบรรไดอิฐและวัดมหาธาตุ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 ได้เสด็จมาประทับ ณ พระนครคีรีในปีเดียวกันนี้ พระเจ้าแผ่นดินประเทศปรัสเซียได้ส่งราชทูตชื่อคอลออยเลนเบิร์ตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทจัดเรือแจวเรือพายให้ทูตที่มาเที่ยวเมืองเพชรบุรีใช้เป็นจำนวนสองลำ มี   ฝีพายลำละ 20 คน ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางยุคล ประทับอยู่ ณ พระนครคีรี รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเพื่อทรงแจ้งให้ทราบว่า ราชทูตปรัสเซียจะมาเที่ยวและพักผ่อนที่เมืองเพชรบุรี ขอให้จัดรถบริการให้ด้วย ส่วนขากลับโปรดให้จัดเรือพระที่นั่งเสพย์สหายไมตรีมารับที่เพชรบุรี เพื่อนำไปส่งที่เรือรบที่สันดอน วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2405 เป็นวันที่เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร การเสด็จเมืองเพชรบุรีครั้งนี้ โปรดให้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรบนพระนครคีรี และทรงบรรจุพระธาตุบนยอดเจดีย์บนเขามหาสวรรค์ด้วย วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2406 เสด็จมาเมืองเพชรบุรีด้วยเรือกลไฟพระที่นั่งและเสด็จกลับเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ในเดือนเมษายนพันเอกเรโบลได้นำเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากฝรั่งเศสชื่อ เรจิออง ดอนเนอร์ เข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้นำนายพันเอกเรโบลมาเที่ยวเมืองเพชรบุรีโดยเรือเสพย์สหายไมตรี วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2408 เป็นวันที่เสร็จงานพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอที่เมืองเพชรบุรี


นอกจากจะทรงสร้างพระนครคีรีแล้ว ยังโปรดฯ ให้ตกแต่งเขาหลวงซึ่งมีพระพุทธรูปโบราณในถ้ำโดยสร้างบันไดหินลงไป สร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนๆ ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เองบ้าง ทรงให้เจ้านายฝ่ายในและพระบรมวงศานุวงศ์สร้างบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ซ่อมแซมพระนครคีรีใหม่ทั้งหมด เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับแรมพักผ่อนอิริยาบถและเพื่อใช้รับรองแขกเมืองด้วย ทรงจัดตั้งมณฑลราชบุรีขึ้น เมืองเพชรบุรีขึ้นกับมณฑลนี้ พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีหลายครั้ง เพราะอากาศถูกพระโรคที่ทรงประชวรในฤดูฝน โดยเฉพาะในเดือนกันยายน 


อย่างไรก็ดีเดือนนี้ไม่เหมาะที่จะประทับบนพระนครคีรี ดังนั้นจึงทรงสร้างพระราชวังบ้านปืนขึ้นอีกแห่งหนึ่ง แต่ไม่แล้วเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างต่อจนสำเร็จพระราชทานนามว่า พระรามราชนิเวศน์นอกจากจะทรงพระสำราญที่เมืองเพชรบุรีแล้ว รัชกาลที่ 5 ยังโปรดเสวยน้ำที่แม่น้ำเพชรบุรีอีกด้วยโดยเฉพาะน้ำตรงท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ ดังความว่า “ด้วยมีตราพระคชสีห์ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกไปแต่ก่อน ให้ข้าพเจ้าแต่งกรมการกำกับกันคุมไพร่ไปตักน้ำหน้าวัดถ้าไช (วัดท่าไชยศิริ) ส่งเข้ามาเป็นน้ำส่ง (สรง) น้ำเสวยเดือนละสองครั้ง ๆ ละยี่สิบตุ่มเสมอจงทุกเดือนนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งให้ขุนลครประการคุมไพร่ไปตักน้ำหน้าวัดถ้าไชยี่สิบตุ่ม ได้เอาผ้าขาวหุ้มปากตุ่มประทับตรารูปกระต่ายประจำครั่ง มอบให้ขุนลครประการคุมมาส่งด้วยแล้ว” ใบบอกฉบับนี้ พ.ศ. 2420 โดยพระยาสุรินทรฤาไชย เรื่องน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีนี้นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดฯ เสวยแล้วยังใช้เป็นน้ำสำหรับเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตั้งแต่สมัยโบราณมา ซึ่งมีแม่น้ำสำคัญ 5 สาย คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเพชรบุรี ดังสารตราถึงพระ-ยาเพชรบุรีเมื่อ พ.ศ. 2394 ความว่า ทางกรุงเทพฯ จะตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการนี้ต้องการน้ำสำหรับเข้าพระราชพิธีดังกล่าว จึงให้หลวงยกกระบัตรเมืองเพชรบุรี หลวงเทพเสนีถือสารตรามายังพระยาเพชรบุรี ให้แต่งตั้งกรมการไปตักน้ำที่หน้าเมืองเพชรบุรี แล้วเอาใบบอกปิดปากหม้อ เอาผ้าขาวหุ้มปากหม้อผูกปิดตราประจำครั่ง แล้วมอบให้หลวงยกกระบัตร หลวงเทพเสนีคมเข้าไปส่งยังกรุงเทพมหานครให้ทันกำหนดการพระราชพิธีดังกล่าว


ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรมยังจังหวัดเพชรบุรีหลายครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาหลายวัน บางครั้งแรมเดือน หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2453 แล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังเพชรบุรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2457 โดยเสด็จมากับกองเสือป่าเสนาหลวงรักษาพระองค์ เพื่อเดินทางไกลไปจอมบึง บ้านโป่ง ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2457 ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสตัวเมืองเพชรและทอดพระเนตรกรีฑาของกรมทหารราบที่ 14 เพชรบุรี รุ่งขึ้นวันที่ 14 มกราคม จึงทรงม้าพระที่นั่งเคลื่อนขบวนเสือป่าเดินทางไกล


เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้โดยรถไฟพระที่นั่ง เมื่อรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีเมืองเพชรบุรี ได้มีข้าราชการและประชาชนเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมาก ข้าราชการเมืองเพชรบุรีมี พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค) จางวาง พระยาเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันตสิงห์)  ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำรวจ เสือป่า ต่างเฝ้ารับเสด็จประชาชนที่ถูกเพลิงไหม้ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า ทรงสงสารราษฎรที่เคราะห์ร้ายเหล่านั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ งดเก็บเงินบำรุงท้องที่เป็นเวลาหนึ่งปี


สำหรับเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่ตลาดเมืองเพชรบุรีเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2468 นั้น บริเวณตลาดดังกล่าวคือฟากตะวันตกของแม่น้ำตั้งแต่เชิงสะพานจอมเกล้าไปตามถนนชี    สะอินจรดถนนราชดำเนิน จากถนนราชดำเนินไปจนจรดถนนราชวิถีและถึงแม่น้ำ เมื่อทางกระทรวงมหาดไทยได้รายงานกราบบังคมให้ทรงทราบ พระองค์ทรงสลดพระราชหฤทัยและทรงสงสารชาวเพชรบุรียิ่งนัก ทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่เมืองเพชรบุรีนั้น บ้านเรือนของราษฎรสร้างกันแออัดเกินไป และใช้ไม้หลังคาจากเป็นเชื้อเพลิงได้ดี ถนนก็แคบไม่เป็นระเบียบ ไม่สามารถจะป้องกันอัคคีภัยได้ทันท่วงที จึงโปรดฯ ให้ขยายถนนเก่า และห้ามสร้างปลูกเพิงไม้ที่จะเป็นเชื้อไฟได้อีกต่อไปในบริเวณไฟไหม้


สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ตามจุดต่าง ๆ คือ ที่สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และที่บางปู ขณะนั้นไทยต้องทำสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น มิตรขณะนั้นคือ เยอรมัน อิตาลี ส่วนปัจจามิตรคือ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ


พ.ศ. 2486 เครื่องบินข้าศึกได้โจมตีกรุงเทพมหานคร เวลา 01.30 น. ที่เพชรบุรีได้มีสัญญาณภัยทางอากาศ เครื่องบินได้บินผ่านและทิ้งระเบิด วันที่ 9 และ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 เครื่องบินได้บินวนเวียนและผ่านไป วันที่ 9 มิถุนายน ปีเดียวกันมีสัญญาณเตือนให้หลบภัย วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2488 มีสัญญาณภัยทางอากาศ เครื่องบินผ่านทิ้งระเบิดยังทุ่นระเบิดตามปากน้ำต่าง ๆ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เวลา 13.15 น. เครื่องบินข้าศึกได้ยิงกราดลงมาถูกตู้รถไฟบรรทุกน้ำมันจำนวน 3 หลัง ไฟไหม้หมด ส่วนบริเวณอื่น ๆ ปลอดภัย เมื่อสงครามสงบทางเจ้าหน้าที่สหประชาชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจดูเชลยศึก สำหรับที่เพชรบุรีนี้มีทหารเชลยชาวฮอลันดาจำนวนประมาณร้อยคนผ่านมา ทางจังหวัดขณะนั้นมีนายอมร อินทรกำแหง อัยการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำเจ้าหน้าที่  สหประชาชาติดูสถานที่ที่จะให้เชลยศึกพัก โดยได้เลือกโรงเรียนฝึกหัดครูมูลเพชรบุรีเป็นที่พักเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2488


ในมหาสงครามครั้งนี้ ได้มีคนไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ก่อตั้งองค์การใต้ดินขึ้นเรียกว่า ขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นและให้ความร่วมมือกับพันธมิตร กองบัญชาการใหญ่ตั้งที่วังสวนกุหลาบ มีสมาชิกย่อย ๆ ตามจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งเมืองเพชรบุรีด้วย ซึ่งตั้งหน่วยปฏิบัติการอยู่ที่ตำบลบางค้อ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง มีการฝึกอาวุธให้กับสมาชิกอาสา-สมัครเป็นการฝึกรบแบบกองโจร แต่เหตุการณ์สงครามได้สิ้นสุดลงเสียก่อน 


ขอบคุณแหล่งข้อมูล
ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคฯ
ภาพ : www.phetchaburi.go.th
ภาพ : www.arunsawat.com
ภาพ : sites.google.com








          ความเครียดเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าจะเป็นเครียดเรื่องงาน ความรัก ชีวิต ฯลฯ แต่คงไม่มีใครที่อยากตกอยู่ในสภาวะที่ความเครียดเข้าครอบงำ มีวิธีกำจัดความเครียดอีกวิธีที่จะมานำเสนอ เพียงแค่คุณพักเรื่องต่างๆ เหล่านั้นไว้แล้วหลับตานึกถึงสายลมที่พัดผ่านร่างกาย น้ำเย็นๆ ที่เพียงสัมผัสก็ชื่นใจ และเสียงคลื่นกระทบฝั่งที่เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกผ่อนคลาย “ทะเล” ร่างกายของคุณต้องการทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลอ่าวไทยที่ครึกครื้นไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมาย หรือจะเป็นทะเลอันดามันที่มีความสวยงาม น้ำสีเขียวประกอบกับหมู่เกาะน้อยใหญ่ที่เป็นมนต์เสน่ห์ของเมืองไทย ที่ไม่ว่าจะเดินทางไปครั้งใดก็ประทับใจไม่ลืม


          ทะเลเมืองไทยเรียกได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวหลายๆ คนโดยเฉพาะต่างชาติก็นิยม และจะนึกถึงเสมอ ไม่ว่าจะด้วยบรรยากาศ การเดินทาง ที่พัก หรือกระทั่งผู้คนในท้องที่ที่มีการต้อนรับเป็นอย่างดี  มีคนเคยบอกว่าเมื่อมองดูทะเลแล้วทำให้เกิดความเหงา แต่กลับให้เรานั้นดูสงบและคิดทบทวนเรื่องราวต่างๆ ได้ จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกที่หากคุณเองต้องการอยากจะพักผ่อน คลายเครียด ท้องทะเลก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอีกที่หนึ่ง และไม่ว่าจะเป็นทะเลที่ใด ธรรมชาติของมันก็จะทำคุณได้ปลดปล่อย และรับความสดชื่นกลับคืนมาอย่างแน่นอน เชื่อได้ว่าการชาร์ทพลังครั้งนี้คุณจะต้องมีแรงต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ได้อย่างแน่นอน  แต่ก็อย่าลืมว่าไปทะเลทั้งที หากได้ไปกับคนที่คุณอยู่ด้วยแล้วสบายใจนั่นแหละที่จะเป็นการพักผ่อนที่สมบูรณ์แบบ






          หากพูดถึงหาดเจ้าสำราญ หลายคนคงรู้จักกันดีในนามของสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่งดังในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ในช่วงเทศกาลวันหยุดจึงมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของที่พักได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะถึงวันหยุดวันแม่ในปีนี้ เราจึงขอแนะนำที่พักติดทะเลสวยๆ บรรยากาศดีๆ มาฝากกันค่ะ

        จะดีแค่ไหนหากเราได้พัก ที่พักติดทะเลเป็นที่พักติดทะเลที่คุณสามารถสัมผัสกับบรรยากาศของท้องทะเลได้แบบเต็มๆ เพียงเดินเล่นเพียงนิดเดียวเท่านั้น คุณจะได้ออกมารับลม ชมวิว มองเห็นทิวทัศน์ของท้องทะเลได้อย่างเต็มตา นอกจากนี้ยังสามารถลงเล่นน้ำไปด้วย ชมทะเลไปด้วย ช่างสวยงามตา ในส่วนของห้องพักก็กว้างขวางสะดวกสบาย มาพักได้มากถึง 8-15 คนเลยทีเดียว เพียงเท่านี้คุณก็สัมผัสกับท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิดแล้วค่ะ

          วันหยุดวันแม่ปีนี้ หากใครมีโอกาสพาคุณแม่มาเที่ยวที่ริมหาดเจ้าสำราญ ก็อย่าลืมจองที่พักติดทะเลบรรยากาศดีๆ ที่บ้านแสนสุขของเราไว้สักที่ด้วยนะคะ บางทีคุณอาจจะได้ความรู้สึกดีๆ เก็บไว้เป็นความทรงจำและความประทับใจก็ได้นะ







          หาดเจ้าสำราญ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่หลายคนบอกว่า หากใครได้มาเที่ยวที่จังหวัดเพชรบุรีแล้ว ไม่เดินทางมาเที่ยวที่หาดเจ้าสำราญ ถือว่าท่านมาไม่ถึงจังหวัดเพชรบุรี นอกจากความสวยงามของหาดเจ้าสำราญแล้ว ที่นี่ยังถือว่าเป็นสถานที่พักตากอากาศชั้นยอด ที่จะทำให้วันหยุดสุดสัปดาห์ของคุณ กลายเป็นวันที่พิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่จะสวยงามขนาดไหนนั้น วันนี้เรามีที่พักติดทะเลริมหาดเจ้าสำราญสวยๆ มาฝากกันค่ะ

          ในระแวกนี้มีที่พักติดทะเลมีสไตล์การออกแบบที่ทันสมัย มีทั้งที่มีชายหาดส่วนตัว เป็นบ้านพักหลังเล็กๆ  ติดกระจกใสสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีสระว่ายน้ำอยู่ข้างๆ ให้นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำได้อย่างสบายใจ ไม่เพียงเท่านั้น ที่พักติดทะเลริมหาดเจ้าสำราญ ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ไม่ว่าจะมองไปมุมไหนๆ ก็รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ เหมาะกับวันพักผ่อนที่แสนพิเศษจริงๆ เลย หากนักท่องเที่ยวคนไหนที่ต้องการที่พักติดทะเล บรรยากาศดี ๆ บริเวณหาดเจ้าสำราญแห่งนี้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีที่พักน่าสนใจอยู่มากเลยทีเดียว

          ที่พักติดทะเลอีกแห่งหนึ่งในหาดเจ้าสำราญที่เราจะขอแนะนำ นั่นก็คือ บ้านแสนสุข ของเรานี่เอง ที่คุณสามารถสัมผัสกับบรรยากาศของทะเลได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเดินออกมาข้างนอก หรือเข้าไปในห้องพัก ก็สามารถสัมผัสกับกลิ่นอายของท้องทะเลได้แบบเต็มๆ ภายในห้องพัก เข้ากับบรรยากาศของท้องทะเล มองแล้วรู้สึกสบายตา สบายใจจริงๆ ห่างออกไปเพียงเล็กน้อยก็สามารถลงเล่นน้ำทะเลได้อย่างสนุกสนานแล้วละ

          หาดเจ้าสำราญแห่งนี้ ยังมีที่พักติดทะเลที่น่าสนใจอีกมากมาย หากนักท่องเที่ยวคนไหน มีโอกาสได้มาเที่ยวที่สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ และอยากนอนพักผ่อน สบายๆ สักคืน ลองแวะไปดูกันได้ รับรองว่าจะต้องประทับใจและต้องแวะมาอีกครั้งอย่างแน่นอน







          ธรรมชาติต่างก็บันดาลทุกสิ่งให้กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระทั่งอากาศเพื่อที่จะให้หายใจแต่เมื่อผ่านไปนานเข้า มนุษย์กลับเริ่มมาทำลายธรรมชาติผู้ให้ เมื่อกลับมามองดูทรัพยากรทางทะเลที่อยู่ในภาวะไม่ค่อยดีนัก  อาจจะเกิดจากความมักง่ายของนักท่องเที่ยวที่มีการทิ้งขยะ หรือไม่ช่วยกันรักษาความสะอาดจึงทำให้ทรัพยากรทางทะเลบางอย่างกำลังลดจำนวนลง เช่น สาหร่ายทะเล ปะการัง ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น บริเวณของชายหาดยังมีขยะทั้งเศษถุงพลาสติก เศษอาหารที่นำมารับประทานบริเวณชายหาด ส่งผลให้ในบางที่นักท่องเที่ยวมีจำนวนลดลงไปด้วย  

          ปัจจุบันนี้มีธุรกิจในการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรงแรม รีสอร์ท ที่พักติดริมทะเล ส่งผลให้ธรรมชาติกำลังจะถูกรบกวนจากมนุษย์มากขึ้น ซึ่งสังเกตจาก สภาพทะเลที่มีน้ำใสหาดทรายสวยในอดีตเริ่มจะหดหายไปตามกาลเวลา  ยิ่งเมื่อไม่นานมานี้เกิดการรั่วของท่อน้ำมันของบริษัทผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่ในไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หาดทรายในเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในประเทศไทย กว่าที่จะมีการเก็บกู้หรือธรรมชาติจะปรับตัวได้หาดทรายและน้ำใสๆ ของทะเลสวยกลับคืนมาก็ใช้เวลานานนับเดือน และต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มของชาวบ้านที่ยึดอาชีพหาปลาและนักลงทุนในเกาะดังกล่าว  นอกจากธรรมชาติจะต้องเกิดความสูญเสียความสมดุลแล้ว มนุษย์เองก็ยังจะต้องรับผลกระทบดังกล่าวด้วย

          ถึงเวลาแล้วที่เราเองจะต้องลุกขึ้นมาดูแลรักษาธรรมชาติที่ล่อเลี้ยงชีวิตของเรามาตลอด คืนธรรมชาติที่สวยงามแล้วธรรมชาติก็จะมอบสิ่งที่เราจะหาซื้อจากที่ไหนมาให้แก่เรา เช่นเดียวกับช่วยกันดูแลทะเลสวยของเราเพื่อให้คนที่อยู่ข้างหลังเรา ลูก หลาน เรามีโอกาสได้ชื่นชมมันอย่างที่เราได้เห็นมาก่อน






ภาพโดยนายอภิชาติ ตั้งเจริญบำรุงสุข

      ทช. ยก วาฬบรูด้า เป็นสัตว์ประจำถิ่นอ่าวไทยตอนบน (อ่าวไทยรูปตัว ก) หลังพบมีจำนวนกว่า 40 ตัว ชี้พื้นที่อ่าวไทยยังสมบูรณ์ ต้องช่วยกันดูแลไม่ให้อะไรไปกระทบ
       
       เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า จากการที่กรมทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง (ทช.) ได้สำรวจเก็บข้อมูลเรื่องวาฬบรูด้าในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก ตั้งแต่ปี 2551 - 2556 พบวาฬบรูด้าเป็นประจำ โดยสามารถบันทึกภาพ และตั้งชื่อวาฬทุกตัวได้แล้ว 40 จนพูดได้ว่าวาฬบรูด้า คือสัตว์ประจำถิ้นของทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก (อ่าว ก ไก่)
       
       นายวิเชษฐ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2556 นี้ แม่บรูด้าได้กำเนิดลูกบรูด้าใหม่ 4 ตัว สำหรับลูกวาฬ 4 ตัวที่เพิ่งเกิดใหม่นั้น ถูกตั้งชื่อแล้ว โดยลูกที่เกิดจากแม่ตองอ่อน ชื่อ ใบตอง ลูกที่เกิดจากแม่ข้าวเหนียว ชื่อเจ้าเอกน้อย ลูกที่เกิดจากแม่พาฝัน ชื่อเจ้าอิ่มเอม ส่วนลูกที่เกิดจากแม่สาคร ชื่อเจ้าท่าฉลอม ซึ่งยังไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการ โดยในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ ตนจะเดินทางตามหาตัวเจ้าฉลอม นอกจากนี้ยังมีรายงานจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ว่า เจ้าฉลอมนั้น เป็นลูกวาฬบรูด้าที่แข็งแรงมาก มีพฤติกรรมแตกต่างจากวาฬบรูด้าตัวอื่นๆ คือ ชอบกระโดด ปกติแล้ววาฬบรูด้าที่อายุไม่ถึง 1 ปี จะไม่ค่อยกระโดดให้ใครเห็น ล่าสุดมีคนเห็นเจ้าฉลอมกระโดดเหนือน้ำถึง 11 ครั้งติดต่อกันในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก นี้ มีความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องช่วยกันดูแลไม่ให้มีอะไรกระทบ และทำให้วาฬเหล่านี้หนีไปอยู่ที่อื่น


ภาพโดยนายอภิชาติ ตั้งเจริญบำรุงสุข


          จากที่มีการลงความเห็นว่าวาฬบรูด้าเป็นสัตว์ประจำถิ่นของทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก นั้น นายเกษมสันต์ จิณณวาโส หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ทส. เผยว่า ตอนสำรวจใหม่ๆ นั้นยังไม่ปักใจเชื่อ คิดว่าเป็นแค่สัตว์อพยพตามอาหารมาเท่านั้น แต่จากการบันทึกตำแหน่งจุดที่พบ ก็พบหลายจุดในพื้นที่อ่าวไทย ตั้งแต่ทะเลชุมพรมาถึงทะเลฝั่งตะวันออก เจอมากที่สุดคืออ่าวไทยตอนบน หรืออ่าวไทยรูปตัว ก และที่น่าสนใจคือมักจะเห็นวาฬบรูด้าว่ายน้ำมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณทะเลบางขุนเทียน) ซึ่งเป็นเขตทะเลกรุงเทพฯ แสดงให้เห็นถึงแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ
       
       ด้านนายนายสุรศักดิ์ ทองสุกดี นักวิชาการประมง ชำนาญการ หัวหน้าทีมสำรวจโลมา และวาฬบรูด้า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า เชื่อว่าวาฬบรูด้าในอ่าวไทยน่าจะมีมากกว่านี้ แต่ขณะนี้สามารถตั้งชื่อและจำแนกลักษณะได้ 40 ตัวเท่านั้น ส่วนที่พบว่าลูกบรูด้าอายุไม่ถึง 1 ปี กระโดดเหนือน้ำติดต่อกันได้ถึง 11 ครั้งนั้น ถือว่าเป็นลูกปลาที่แข็งแรง เนื่องจากลูกบรูด้าแรกเกิดจะมีความยาว 4 เมตร น้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม เวลากระโดดจะต้องตีลังกาใส่เกลียวบิดตัวหงายท้องเอาหลังลง นับว่าเป็นลูกปลาที่แข็งแรงมาก
       
       โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ช่างภาพอิสระเมืองเพชรบุรี สามารถบันทึกภาพ “วาฬบรูด้า” แม่ลูกที่โผล่ขึ้นมากินปลากะตักเหนือปากอ่าวบางตะบูนได้ขณะที่นั่งเรือประมงออกจากฝั่งปากอ่าวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้ร่วมเดินทาง จำนวน 10 คนด้วยกัน ซึ่งมีนักถ่ายภาพ 8 คน และอีก 2 คน เป็นคนขับเรือ และผู้ช่วย ซึ่งพบในช่วงเวลาประมาณ 11.00 - 14.00 น.และอยู่ห่างจากปากอ่าวบางตะบูนไม่ไกลมากนัก นอกจากนี้ยังพบเห็นวาฬบรูด้าที่หากินอยู่รอบๆ อีกประมาณ 5 ตัวด้วยกัน

ที่มา : http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000127568






          การมาเที่ยวทะเล ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ และมาเที่ยวกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย นอกจากกิจกรรมทางทะเลที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับนักท่องเที่ยวแล้ว บรรยากาศยามเย็นของท้องทะเล ก็ถือว่าเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวทะเลได้ดีเลยทีเดียว

          หากใครที่ต้องการเดินเล่นรับลม ชมวิวริมชายหาด ช่วงที่เหมาะสมที่สุดนั่นก็คือ ช่วงเย็น ของแต่ละวัน นอกจากอากาศจะไม่ร้อนอบอ้าวแล้ว คุณยังสามารถเที่ยวทะเลและชมภาพพระอาทิตย์ค่อยๆ เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ลงสู่ทะเลได้อย่างสวยงาม ประกอบกับเสียงคลื่นกระทบฝั่งดังซู่ซ่า ชั่งได้บรรยากาศจริงๆ เลย 

          เมื่อเดินไปสักพัก หากเกิดอาการหิวขึ้นมา คุณเองก็สามารถเดินไปยังร้านค้าที่ให้บริการได้เลย เพราะว่าส่วนใหญ่จะมีร้านค้าใกล้ทะเลให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวทะเลและอำนวยความสะดวกให้อย่างครบครัน จะดึกขนาดไหน คุณเองก็สามารถสั่งอาหารมากินได้ตามใจชอบ  ไม่เพียงแค่ในส่วนของอาหารเท่านั้น ยังมีบริการเครื่องดื่มไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย นั่งรับลมเย็นๆ จิบเบียร์เบาๆ ฟังเพลงสบายๆ ก็ทำให้คุณสามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศยามเย็นได้แบบเต็มที่ เรียกได้ว่าการมาเที่ยวทะเลครั้งนี้ทำให้คุณประทับใจไม่รู้ลืมอย่างแน่นอน

          สำหรับใครที่พลาดบรรยากาศแสนโรแมนติกยามเย็นไปแล้วไม่ต้องเสียใจไปค่ะ เพราะว่าช่วงเช้า คุณเองก็สามารถรับชมภาพสวยๆ โรแมนติกจากพระอาทิตย์ได้ รับรองว่าสวยไม่แพ้บรรยากาศยามเย็นอย่างแน่นอนเลยหล่ะ แต่จะต้องพยายามตื่นให้ทันด้วยนะค่ะ ไม่อย่างนั้นคุณจะต้องพลาดช่วงเวลาดีๆ ที่สวยงามของท้องทะเลไป เดี๋ยวจะเรียกว่ามาไม่ถึงทะเลนะจ๊ะ








ใกล้สัปดาห์วันแม่เข้ามาทุกที วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ หากใครยังคิดไม่ออกว่าจะพาคุณแม่สุดที่รักไปเที่ยวที่ไหนดี ลองมาเที่ยวที่นี่กันเลยดีกว่า กับทะเลใกล้กรุงเทพฯ เพียงคุณขับรถมาเที่ยวกินลมชมวิวแค่ 2-3 ชั่วโมง ก็สามารถพาคุณแม่สุดที่รักของคุณเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่สวยงามของทะเลได้แล้วค่ะ

ทะเลสะอาด บรรยากาศดีๆ แถมยังใกล้กับกรุงเทพฯ แบบนี้ ต้องยกให้ที่นี่เลยค่ะ กับหาดเจ้าสำราญ ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนๆ หาดเจ้าสำราญถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตที่ครองใจใครหลายๆ คน  ไม่เคยตกยุคตกสมัย โดยเฉพาะที่รู้จักกันดีในชื่อหาดเจ้าสำราญ ที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพไม่มากนัก ก็สามารถเดินทางไปถึงที่หมายปลายทางได้แล้ว หาดเจ้าสำราญเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างมาก 

นอกจากบรรยากาศดีๆ ที่หาได้จากที่นี่แล้ว หาดเจ้าสำราญแห่งนี้ยังมีบริการดีๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเลสดๆ นำมาปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย ที่คุณสามารถเลือกรับประทานได้ตามใจชอบแล้ว ยังมีแม่ค้า พ่อค้า หาบเร่ขายของน่ารัก สีสันสวยงาม สามารถซื้อไปฝากคนทางบ้านได้อีกด้วย นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลยนะ โอกาสดีๆ อย่างวันแม่ปีนี้ หากใครที่ยังไม่เคยมาคุณแม่มาเที่ยวทะเล ลองเปลี่ยนมาเที่ยวทะเลดูบ้าง ไม่แน่ว่าท่านอาจจะประทับใจ ทำให้วันแม่ปีนี้ เป็นวันที่ดีที่สุดในชีวิตคุณก็ได้






ทะเล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตอีกสถานที่หนึ่ง ที่มีนักท่องเที่ยวพากันไปเที่ยวอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือว่าชาวต่างชาติ ต่างก็พากันมาเที่ยวทะเลกันทั้งนั้น นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับการพักผ่อนแล้ว ทะเลยังมีกิจกรรมดีๆ อีกมากมาย ที่คุณสามารถสนุกได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลยทีเดียว 

นอกจากการเดินเล่นริมหาดแล้ว สำหรับกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่นักท่องเที่ยวจะพลาดไม่ได้ เมื่อมาเที่ยวทะเล นั่นก็คือ การขี่ Banana Boat ซึ่งสามารถสร้างความสนุกสนานให้กับนักท่องเที่ยวได้ดีเลยทีเดียว จากนี้ยังมีกิจกรรมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความท้าทายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปีนเขา เล่นวินเซิร์ฟ เจสกี และอื่นๆ อีกมากมาย ให้นักท่องเที่ยวสามารถสนุกได้อย่างเต็มที่ สำหรับนักท่องเที่ยวคนไหนที่ชื่นชอบการดำน้ำ ก็สามารถเข้าไปดำน้ำดูปะการังที่สวยงามได้ พร้อมกับฝูงปลาน้อยใหญ่สีสันสวยงามแหวกว่ายตามท้องทะเลให้นักท่องเที่ยวได้ตื่นตาตื่นใจช่างเป็นภาพความประทับใจที่หาได้ที่ทะเลไทยของเราเท่านั้น

หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการเล่นกิจกรรมมาทั้งวัน ตกเย็นก็นำอาหารทะเลสดๆ มาย่างบนตะแกรง พร้อมกับกลิ่นหอมตะหลบอบอวนชวนน้ำหลายสอ จิบเบียร์เบาๆ เคล้ากับเสียงกีต้าร์ ช่างเป็นการพักผ่อนที่คุ้มค่าและน่าประทับไม่รู้ลืม หากวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ใครยังนึกไม่ออกว่าจะมาเที่ยวที่ไหนดี อย่าลืมมาเที่ยวทะเลกันนะ รับรองว่าคุณจะต้องประทับใจอย่างไม่รู้ลืมอย่างแน่นอนเลยหล่ะ มาเที่ยวทะเลกันเยอะๆ นะค่ะ


ที่พักหาดเจ้าสำราญติดทะเล 
ยินดีต้อนรับค่ะ





นอกจากการได้มาเที่ยวทะเลแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้หลังจากมาเที่ยวทะเล นั่นก็คือ การหาที่พักติดทะเลบรรยากาศดีๆ เอาไว้พักผ่อนนอนหลับ ซึ่งก็มีหลากหลายราคาที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะช่วง Highs season จะมีราคาที่พักค่อนข้างสูงกว่าช่วงอื่นๆ หากใครที่วางแผนไว้ว่าจะไปเที่ยวทะเลในช่วง Highs season จะต้องรีบๆ จองที่พักติดทะเลไว้ล่วงหน้าด้วย มิฉะนั้นจะต้องอดชมบรรยากาศดีๆ ยามเย็นอย่างแน่นอนเลย

ผู้คนส่วนมากจะเลือกที่พักติดทะเลเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เพราะจะทำให้คุณสามารถซึมซับกับบรรยากาศริมทะเลได้เป็นอย่างดี  ที่พักบางที่มีชาดหาดส่วนตัว เพียงคุณลงมาจากที่พัก ก็สามารถเดินเล่นริมชายหาด พร้อมกับสามารถสัมผัสบรรยากาศของทะเลได้แบบเต็มๆ นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมาย ที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวทะเลได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างชาติ ต่างก็พอใจ และต้องการที่จะพักในที่พักติดทะเลกันทั้งนั้น นอกจากบรรยากาศยามเย็นที่หาที่ไหนไม่ได้แล้ว ยังสะดวกสบาย เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินเล่นริมชายหาดยามเย็น เมื่อเดินเล่นรับลมเย็นๆ ริมหาดอย่างจุใจแล้ว สามารถเดินเข้ามายังที่พักได้ โดยไม่ต้องเสียเวลา ก็สามารถเดินทางมาถึงที่พักได้แล้วค่ะ

หากนักท่องเที่ยวคนไหนที่ต้องการไปเที่ยวทะเลและอยากได้ที่พักใกล้ๆ ทะเล ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะว่าในปัจจุบันนี้มีที่พักให้เราได้เลือกอีกมากมาย ชอบสไตล์ไหน สามารถเลือกได้ตามใจชอบเลยค่ะ แต่ต้องรีบๆ หน่อยนะ หากใครที่ต้องการไปเที่ยวทะเลช่วง Highs season อย่าลืมจองล่วงหน้าด้วยนะ ไม่อย่างนั้นจะต้องพลาดโอกาสดีๆ อย่างแน่นอนเลยหล่ะ


Categories

Popular Posts

TAG :

เคล็ดไม่ลับจัดกระเป๋าเดินทาง เคล็ดลับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย จัดกระเป๋าเดินทาง จัดกระเป๋าเที่ยว เดินทางท่องเที่ยวคนเดียว ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนการเดินทาง ตำนานเมืองเพชรบุรี เตรียมตัวลุยเดี่ยว back pack ท่องเที่ยวอย่างไรให้คุ้มค่า ทะเลของใคร? ที่พักติดทะเล หาดเจ้าสำราญ ที่พักริมทะเลสำหรับคุณ เทคนิคการท่องเที่ยวแบบครอบครัว เที่ยวทะเลเป็นหมูคณะ เที่ยวทะเลวันหยุด เที่ยวอย่างมีแบบแผน บรรยากาศดี ดี ริมหาดเจ้าสำราญ บรรยากาศรอบบริเวณ หาดเจ้าสำราญ บ้านพักติดทะเล บ้านพักหาดเจ้าสำราญ บ้านพักหาดเจ้าสำราญ ติดทะเล บ้านพักหาดแสนสุข 15 คน ประวัติหาดเจ้าสำราญ พร้อมแล้ว ไปเที่ยวทะเลเถอะ พักสบายๆ ริมหาดเจ้าสำราญ แพ้อาหารทะเลทำอย่างไร วาฬบรูด้า หาดเจ้าสำราญ สถานที่ท่องเที่ยวใกล้หาดเจ้าสำราญ สัมมนา อบรม รับน้อง สนุกที่หาดเจ้าสำราญ สิ่งอำนวยความสะดวก สุขใจทุกครั้งเมื่อมาเที่ยวทะเล อัตราค่าบริการ อาหารทะเล ริมหาดเจ้าสำราญ อาหารทะเล สด อร่อย เอาความเครียดไปโยนทะเล โอ้ทะเลแสนงาม