ภาพโดยนายอภิชาติ ตั้งเจริญบำรุงสุข

      ทช. ยก วาฬบรูด้า เป็นสัตว์ประจำถิ่นอ่าวไทยตอนบน (อ่าวไทยรูปตัว ก) หลังพบมีจำนวนกว่า 40 ตัว ชี้พื้นที่อ่าวไทยยังสมบูรณ์ ต้องช่วยกันดูแลไม่ให้อะไรไปกระทบ
       
       เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า จากการที่กรมทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง (ทช.) ได้สำรวจเก็บข้อมูลเรื่องวาฬบรูด้าในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก ตั้งแต่ปี 2551 - 2556 พบวาฬบรูด้าเป็นประจำ โดยสามารถบันทึกภาพ และตั้งชื่อวาฬทุกตัวได้แล้ว 40 จนพูดได้ว่าวาฬบรูด้า คือสัตว์ประจำถิ้นของทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก (อ่าว ก ไก่)
       
       นายวิเชษฐ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2556 นี้ แม่บรูด้าได้กำเนิดลูกบรูด้าใหม่ 4 ตัว สำหรับลูกวาฬ 4 ตัวที่เพิ่งเกิดใหม่นั้น ถูกตั้งชื่อแล้ว โดยลูกที่เกิดจากแม่ตองอ่อน ชื่อ ใบตอง ลูกที่เกิดจากแม่ข้าวเหนียว ชื่อเจ้าเอกน้อย ลูกที่เกิดจากแม่พาฝัน ชื่อเจ้าอิ่มเอม ส่วนลูกที่เกิดจากแม่สาคร ชื่อเจ้าท่าฉลอม ซึ่งยังไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการ โดยในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ ตนจะเดินทางตามหาตัวเจ้าฉลอม นอกจากนี้ยังมีรายงานจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ว่า เจ้าฉลอมนั้น เป็นลูกวาฬบรูด้าที่แข็งแรงมาก มีพฤติกรรมแตกต่างจากวาฬบรูด้าตัวอื่นๆ คือ ชอบกระโดด ปกติแล้ววาฬบรูด้าที่อายุไม่ถึง 1 ปี จะไม่ค่อยกระโดดให้ใครเห็น ล่าสุดมีคนเห็นเจ้าฉลอมกระโดดเหนือน้ำถึง 11 ครั้งติดต่อกันในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก นี้ มีความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องช่วยกันดูแลไม่ให้มีอะไรกระทบ และทำให้วาฬเหล่านี้หนีไปอยู่ที่อื่น


ภาพโดยนายอภิชาติ ตั้งเจริญบำรุงสุข


          จากที่มีการลงความเห็นว่าวาฬบรูด้าเป็นสัตว์ประจำถิ่นของทะเลอ่าวไทยรูปตัว ก นั้น นายเกษมสันต์ จิณณวาโส หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ทส. เผยว่า ตอนสำรวจใหม่ๆ นั้นยังไม่ปักใจเชื่อ คิดว่าเป็นแค่สัตว์อพยพตามอาหารมาเท่านั้น แต่จากการบันทึกตำแหน่งจุดที่พบ ก็พบหลายจุดในพื้นที่อ่าวไทย ตั้งแต่ทะเลชุมพรมาถึงทะเลฝั่งตะวันออก เจอมากที่สุดคืออ่าวไทยตอนบน หรืออ่าวไทยรูปตัว ก และที่น่าสนใจคือมักจะเห็นวาฬบรูด้าว่ายน้ำมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณทะเลบางขุนเทียน) ซึ่งเป็นเขตทะเลกรุงเทพฯ แสดงให้เห็นถึงแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ
       
       ด้านนายนายสุรศักดิ์ ทองสุกดี นักวิชาการประมง ชำนาญการ หัวหน้าทีมสำรวจโลมา และวาฬบรูด้า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า เชื่อว่าวาฬบรูด้าในอ่าวไทยน่าจะมีมากกว่านี้ แต่ขณะนี้สามารถตั้งชื่อและจำแนกลักษณะได้ 40 ตัวเท่านั้น ส่วนที่พบว่าลูกบรูด้าอายุไม่ถึง 1 ปี กระโดดเหนือน้ำติดต่อกันได้ถึง 11 ครั้งนั้น ถือว่าเป็นลูกปลาที่แข็งแรง เนื่องจากลูกบรูด้าแรกเกิดจะมีความยาว 4 เมตร น้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม เวลากระโดดจะต้องตีลังกาใส่เกลียวบิดตัวหงายท้องเอาหลังลง นับว่าเป็นลูกปลาที่แข็งแรงมาก
       
       โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ช่างภาพอิสระเมืองเพชรบุรี สามารถบันทึกภาพ “วาฬบรูด้า” แม่ลูกที่โผล่ขึ้นมากินปลากะตักเหนือปากอ่าวบางตะบูนได้ขณะที่นั่งเรือประมงออกจากฝั่งปากอ่าวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้ร่วมเดินทาง จำนวน 10 คนด้วยกัน ซึ่งมีนักถ่ายภาพ 8 คน และอีก 2 คน เป็นคนขับเรือ และผู้ช่วย ซึ่งพบในช่วงเวลาประมาณ 11.00 - 14.00 น.และอยู่ห่างจากปากอ่าวบางตะบูนไม่ไกลมากนัก นอกจากนี้ยังพบเห็นวาฬบรูด้าที่หากินอยู่รอบๆ อีกประมาณ 5 ตัวด้วยกัน

ที่มา : http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000127568

Categories

Popular Posts

TAG :

เคล็ดไม่ลับจัดกระเป๋าเดินทาง เคล็ดลับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย จัดกระเป๋าเดินทาง จัดกระเป๋าเที่ยว เดินทางท่องเที่ยวคนเดียว ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนการเดินทาง ตำนานเมืองเพชรบุรี เตรียมตัวลุยเดี่ยว back pack ท่องเที่ยวอย่างไรให้คุ้มค่า ทะเลของใคร? ที่พักติดทะเล หาดเจ้าสำราญ ที่พักริมทะเลสำหรับคุณ เทคนิคการท่องเที่ยวแบบครอบครัว เที่ยวทะเลเป็นหมูคณะ เที่ยวทะเลวันหยุด เที่ยวอย่างมีแบบแผน บรรยากาศดี ดี ริมหาดเจ้าสำราญ บรรยากาศรอบบริเวณ หาดเจ้าสำราญ บ้านพักติดทะเล บ้านพักหาดเจ้าสำราญ บ้านพักหาดเจ้าสำราญ ติดทะเล บ้านพักหาดแสนสุข 15 คน ประวัติหาดเจ้าสำราญ พร้อมแล้ว ไปเที่ยวทะเลเถอะ พักสบายๆ ริมหาดเจ้าสำราญ แพ้อาหารทะเลทำอย่างไร วาฬบรูด้า หาดเจ้าสำราญ สถานที่ท่องเที่ยวใกล้หาดเจ้าสำราญ สัมมนา อบรม รับน้อง สนุกที่หาดเจ้าสำราญ สิ่งอำนวยความสะดวก สุขใจทุกครั้งเมื่อมาเที่ยวทะเล อัตราค่าบริการ อาหารทะเล ริมหาดเจ้าสำราญ อาหารทะเล สด อร่อย เอาความเครียดไปโยนทะเล โอ้ทะเลแสนงาม